ข้อแนะนำนี้กรุงเทพมหานครจัดทำขึ้นเพื่อให้ความสะดวกกับเจ้าของอาคารหรือผู้ออกแบบได้มีความรู้ความเข้าใจกฎหมายควบคุมอาคารที่จะต้องใช้ในการออกแบบจะได้ไม่เกิดความผิดพลาด ทำให้เสียเวลาในการขออนุญาตก่อสร้างอาคาร ซึ่งมีข้อแนะนำหลัก ๆ ดังต่อไปนี้
1. ข้อพิจารณาเกี่ยวกับที่ดินที่จะใช้ก่อสร้าง
1.1 ตรวจสอบการใช้ประโยชน์ที่ดินในบริเวณที่จะก่อสร้างว่าขัดผังเมืองรวมของกรุงเทพมหานครตามกฎกระทรวงฉบับที่ 414 (พ.ศ. 2542) หรือไม่
1.2 ตรวจสอบว่าในบริเวณดังกล่าวมีกฎกระทรวง , เทศบัญญัติ หรือข้อบัญญัติ กำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง ใช้ หรือเปลี่ยนการใช้อาคารบางชนิดหรือบางประเภทหรือไม่ และอาคารที่ท่านจะก่อสร้าง มีข้อห้ามหรือหลักเกณฑ์อย่างไรบ้าง
1.3 ตรวจสอบว่าในบริเวณดังกล่าวมีกฎหมายของหน่วยราชการอื่นที่ห้ามก่อสร้างหรือมีข้อกำหนดในการก่อสร้างอาคารนอกเหนือจาก พ.ร.บ.ควบคุมอาคารหรือไม่ เช่น บริเวณเขตปลอดภัยในราชการทหาร , บริเวณเขตปลอดภัยในการเดินอากาศ , ข้อกำหนดเงื่อนไขในการปลูกสร้างอาคารริมเขตทางหลวง ฯลฯ สอบถามข้อมูลได้ที่ กองควบคุมอาคาร สำนักการโยธา กทม 2 หรือสำนักผังเมือง กรุงเทพมหานคร หรือสำนักงานเขตพื้นที่
2. แนวร่นของอาคาร
2.1 มิใช่อาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษ ต้องร่นแนวอาคารห่างเขตถนนสาธารณะดังนี้
2.1.1 อาคารก่อสร้างริมถนนสาธารณะที่มีความกว้างน้อยกว่า 10 เมตร ต้องร่นแนวอาคารห่างจากศูนย์กลางถนนสาธารณะ ไม่น้อยกว่า 6 เมตร
2.1.2 อาคารก่อสร้างริมถนนสาธารณะที่มีความกว้างตั้งแต่10เมตรขึ้นไปแต่ไม่เกิน20เมตรต้องร่นแนวอาคารห่างจากเขตถนนสาธารณะอย่างน้อย 1 ใน 10 ของความกว้างถนนสาธารณะนั้น
2.1.3 อาคารก่อสร้างริมถนนสาธารณะที่มีความกว้างเกินกว่า 20 เมตร ต้องร่นแนวอาคารห่างจากเขตถนนสาธารณะอย่างน้อย 2 เมตร
2.1.4 อาคารที่มีพื้นที่ของอาคารทุกชั้นรวมกันตั้งแต่ 100 ตารางเมตร แต่ไม่เกิน 500 ตารางเมตร ต้องมีที่ว่างห่างแนวเขตที่ดินที่ใช้ก่อสร้างอาคารไม่น้อยกว่า 6 เมตร สองด้านส่วนด้านอื่นต้องมีที่ว่างห่างเขตที่ดินไม่น้อยกว่า 3 เเมตร
2.1.5 อาคารที่มีพื้นที่ของอาคารทุกชั้นรวมกันเกิน 500 ตารางเมตร ต้องมีที่ว่างห่างแนวจากเขตที่ดินที่ใช้ก่อสร้างอาคารไม่น้อยกว่า 10 เมตร สองด้าน ส่วนด้านอื่นต้องมีที่ว่าห่างจากแนวเขตที่ดินไม่น้อยกว่า 5 เมตร
2.2 อาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษ ต้องปฏิบัติดังนี้
2.2.1 ต้องร่นแนวผนังห่างเขตที่ดินผู้อื่น และห่างถนนสาธารณะ ไม่น้อยกว่า 6 เมตร
2.2.2 ต้องมีด้านหนึ่งด้านใดของที่ดินนั้นยาวไม่น้อยกว่า 12 เมตร ติดถนนสาธารณะ ที่มีเขตทางกว้างไม่น้อยกว่า 10 เมตรยาวต่อเนื่องกันโดยตลอดจนไปเชื่อมต่อกับถนนสาธารณะอื่นที่มีเขตทางกว้างไม่น้อยกว่า 10 เมตร และหากอาคารมีพื้นที่อาคารเกินกว่า 30,000 เมตร ที่ดินต้องอยู่ริมถนนสาธารณะที่มีความกว้างไม่น้อยกว่า 18 เมตร ยาวต่อเนื่องกันโดยตลอด จนไปเชื่อมต่อกับถนนสาธารณะอื่นที่มีเขตทางกว้างไม่น้อยกว่า 18 เมตร
2.2.3 อัตราส่วนพื้นที่อาคารทุกชั้นรวมกันต่อพื้นที่ดิน (FAR) ต้องไม่เกิน 10 : 1
2.3 ต้องมีที่ว่างอันปราศจากหลังคาหรือสิ่งปกคลุมไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของพื้นที่ดิน
2.4 ตามหลักเกณฑ์ของข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่องกำหนดบริเวณห้ามก่อสร้างดัดแปลงใช้หรือเปลี่ยนการใช้อาคารบางชนิดหรือบางประเภทในบริเวณดังกล่าว (ถ้ามี)
2.5 ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 414 (พ.ศ. 2542)
2.5.1. อาคารที่ก่อสร้างริมถนนสายหลักตามบัญชีรายชื่อถนนตามข้อ 8 ของกฎกระทรวงต้องมีที่ว่างห่างจากแนวเขตทางไม่น้อยกว่า 2 เมตร
2.5.2. อาคารที่ก่อสร้างริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ต้องมีที่ว่างตามแนวขนานริมฝั่งแม่น้ำไม่น้อยกว่า 3 เมตร
2.5.3 อาคารที่ก่อสร้างริมฝั่งคลองตามบัญชีรายชื่อคลองตามข้อ 10 ของกฎกระทรวงฯ ต้องมีที่ว่างตามแนวขนานริม
ฝั่งคลอง ไม่น้อยกว่า 6 เมตร หากอาคารที่ก่อสร้างไม่อยู่ในบัญชีรายชื่อต้องมีที่ว่างตามแนวขนานริมฝั่งคลองไม่น้อยกว่า 3 เมตร
2.6 อาคารที่ก่อสร้างใกล้แหล่งน้ำสาธารณะ เช่น แม่น้ำ คู คลอง ลำราง หรือลำกระโดง ถ้าแหล่งน้ำสาธารณะมีความกว้างน้อยกว่า 10 เมตร ต้องร่นแนวอาคารห่างจากเขตแหล่งน้ำสาธารณะไม่น้อยกว่า 3 เมตร ถ้าแหล่งน้ำสาธารณะมีความกว้างตั้งแต่ 10 เมตรขึ้นไปต้องร่นแนวอาคารห่างจากเขตแหล่งน้ำสาธารณะไม่น้อยกว่า 6 เมตร แต่ถ้าอาคารใกล้แหล่งน้ำสาธารณะขนาดใหญ่ เช่น บึง ทะเลสาบ หรือทะเล ต้องร่นแนวอาคารห่างจากเขตแหล่งน้ำสาธารณะนั้นไม่น้อยกว่า12เมตร (กฎกระทรวง ฉบับที่ 55)(พ.ศ. 2543 ข้อ 42)
3. ความสูง
3.1 ความสูงของอาคาร
3.1.1 ความสูงของอาคารไม่ว่าจากจุดหนึ่งจุดใดต้องไม่เกินสองเท่าของระยะราบโดยวัดจากจุดนั้นไปตั้งฉากกับแนวเขตด้านตรงข้ามของถนนสาธารณะที่อยู่ใกล้อาคารนั้นที่สุด
3.1.2 อาคารหลังเดียวกันซึ่งมีถนนสาธารณะสองสายขนาดไม่เท่ากันขนาบอยู่ เมื่อระยะระหว่างถนนสาธารณะสองสายนั้นไม่เกิน 60 เมตรและส่วนกว้างของอาคารตามแนวถนนสาธารณะที่กว้างกว่าไม่เกิน60เมตรความสูงของอาคารณจุด
ใดต้องไม่เกินสองเท่าของระยะราบที่ใกล้ที่สุด จากจุดนั้นไปตั้งฉากกับแนวเขตถนนสาธารณะด้านตรงข้ามของสายที่กว้างกว่า
3.1.3 อาคารหลังเดียวกันซึ่งอยู่ที่มุมถนนสาธารณะสองสายขนาดไม่เท่ากันความสูงของอาคารณจุดใดต้องไม่เกินสองเท่าของระยะราบที่ใกล้ที่สุดจากจุดนั้นไปตั้งฉากกับแนวเขตถนนสาธารณะด้านตรงข้ามของสายที่กว้างกว่าและความยาวของอาคารตามแนวถนนสาธารณะที่แคบกว่าต้องไม่เกิน 60 เมตร
3.2 ระยะดิ่งระหว่างพื้นถึงพื้นต้องไม่น้อยกว่า 3.50 เมตร
4. จำนวนที่จอดรถยนต์ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2517)
กรณีอาคารมีความสูงจากระดับถนนตั้งแต่ 15 เมตรขึ้นไปและมีพื้นที่อาคารรวมเกิน 1,000 ตารางเมตร หรือมีพื้นที่อาคารรวมทุกชั้น เกิน 2,000 ตารางเมตร ให้มีที่จอดรถยนต์ไม่น้อยกว่า 1 คันต่อพื้นที่อาคาร 120 ตารางเมตรเศษของ 120 ตารางเมตรให้คิดเป็น 120 ตารางเมตร
5. ระบบป้องกันอัคคีภัย
5.1 กรณีอาคารที่ก่อสร้างไม่เข้าข่ายเป็นอาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษให้ติดตั้งบันไดหนีไฟและอุปกรณ์เกี่ยวกับการป้องกันอัคคีภัยตามกฎกระทรวงฉบับที่39(พ.ศ.2537)กฎกระทรวงฉบับที่47(พ.ศ.2540)และกฎกระทรวงฉบับที่55(พ.ศ.2543) และประกาศกรุงเทพมหานครเรื่องข้อกำหนดลักษณะแบบของบันไดหนีไฟและทางหนีไฟทางอากาศของอาคาร พ.ศ. 2531
5.2 กรณีอาคารที่ก่อสร้างเข้าข่ายเป็นอาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษให้ติดตั้งบันไดหนีไฟและระบบเกี่ยวกับการป้องกันอัคคีภัยตามกฎกระทรวงฉบับที่33(พ.ศ.2535)กฎกระทรวงฉบับที่50(พ.ศ.2540)และประกาศกรุงเทพมหานครเรื่องข้อกำหนดลักษณะแบบของบันไดหนีไฟและทางหนีไฟทางอากาศของอาคาร พ.ศ. 2531
6. การยื่นขออนุญาต
6.1 กรณีมีช่วงเสาไม่เกิน 10.00 เมตร หรืออาคารที่มีความสูงไม่เกิน 4 ชั้นยื่นขออนุญาตที่สำนักงานเขตท้องที่
6.2 กรณีช่วงเสาเกิน 10.00 เมตร หรืออาคารมีความสูงเกิน 4 ชั้นให้ยื่นขออนุญาตที่กองควบคุมอาคาร สำนักการโยธา กทม.2 ถนนมิตรไมตรี เขตดินแดง โทร. 247 - 0077
หากท่านมีปัญหาไม่เข้าใจในข้อแนะนำท่านสามารถปรึกษาข้อปัญหาได้ที่
1) “ศูนย์บริการให้คำปรึกษาก่อนการขออนุญาต” กองควบคุมอาคาร ชั้น 6 ตึกสำนักการโยธา กทม.2 เบอร์โทรศัพท์ 247-0106
2) ฝ่ายควบคุมอาคาร 1, 2, 3 กองควบคุมอาคาร ชั้น 5 ตึกสำนักการโยธา กทม.2 เบอร์โทรศัพท์ 247-0076, 247-0104, 247-0105
3) ผู้อำนวยการกองควบคุมอาคาร ชั้น 5 ตึกสำนักการโยธา กทม.2 เบอร์โทรศัพท์ 246-0331
4) ฝ่ายโยธาเขตพื้นที่
รับออกแบบและก่อสร้าง แบบโรงงาน แบบโกดัง โครงสร้างเหล็ก
ออกแบบพร้อมก่อสร้าง โรงงาน โกดัง คลังสินค้า ราคาไม่แพง ถูกมาก










































ขายแบบก่อสร้างautocad drawing ขายไฟล์.dwg ขายไฟล์CAD แบบสถาปัตยกรรม แบบวิศวกรรมโครงสร้าง แบบระบบประปา แบบระบบสุขาภิบาล แบบระบบไฟฟ้า
autocad drawingขายแบบบ้านสำเร็จรูป แบบสำนักงาน.dwg แบบอพาร์ทเม้นท์.dwg แบบคอนโด.dwg แบบโรงงาน แบบรีสอร์ท.dwg แบบหอพัก.dwg แบบโกดัง แบบคลังสินค้า แบบโรงแรม แบบอาคารพาณิชย์ แบบทาวน์เฮ้าส์ แบบทาวน์โฮม แบบโชว์รูมแบบโกดัง.dwg แบบโรงงาน.dwg แบบคลังสินค้า.dwg ขายแบบก่อสร้างautocad drawing ขายไฟล์.dwg ขายไฟล์CAD แบบสถาปัตยกรรม แบบวิศวกรรมโครงสร้าง แบบระบบประปา แบบระบบสุขาภิบาล แบบระบบไฟฟ้าWarehouse drawing Drawing factory AutoCAD Drawing (.dwg)
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติ่มที่ โทร 0867431141 (วิศวกรผู้ออกแบบ)
ขายแบบก่อสร้างAutoCAD Drawing (.dwg) คลิกดูรายละเอียด
คลิกดู???? รหัสWH1_แบบโกดังหลังคาจั่วขนาดกว้าง20ยาว40สูง6เมตร.dwg
คลิกดู???? รหัสWH2_แบบโกดังหลังคาเพิงหมาแหงนขนาดกว้าง5ยาว10สูง6เมตร.dwg
คลิกดู???? รหัสWH3_แบบโกดังขนาดกว้าง10ยาว15สูง4เมตร.dwg
คลิกดู???? รหัสWH4_แบบโรงงานขนาดกว้าง10ยาว40สูง4เมตร.dwg
คลิกดู???? รหัสWH5_แบบโกดังขนาดกว้าง15ยาว20สูง4เมตร.dwg
คลิกดู???? รหัสWH6_แบบโกดังขนาดกว้าง10ยาว20สูง4เมตร.dwg
คลิกดู???? รหัสWH7_แบบโกดังขนาดกว้าง10ยาว30สูง4เมตร.dwg
คลิกดู???? รหัสWH8_แบบโรงงานขนาดกว้าง15ยาว25สูง4เมตร.dwg
คลิกดู???? รหัสWH9_แบบโกดังขนาดกว้าง20ยาว40สูง4เมตร.dwg
คลิกดู???? รหัสWH10_แบบโกดังขนาดกว้าง10ยาว20สูง5เมตร.dwg
คลิกดู???? รหัสWH11_แบบโกดังขนาดกว้าง12ยาว20สูง5เมตร.dwg
คลิกดู???? รหัสWH12_แบบโกดังขนาดกว้าง12ยาว24สูง6เมตร.dwg คลิกดู???? รหัสWH13_แบบโกดังขนาดกว้าง20ยาว50สูง6เมตร.dwg
ออกแบบพร้อมก่อสร้าง โรงงาน โกดัง คลังสินค้า ราคาไม่แพง ถูกมาก
Facebook กดถูกใจ
รับสร้างโกดัง เขียนแบบโกดัง ขายแบบโกดัง ขายแบบโรงาน
สนใจติดต่อ 086-743-1141 (คุณบี) หรือ baanthaidd@gmail.com หรือ ไอดีไลน์: line052014
แบบแปลนสำหรับขอใบอนุญาตก่อสร้างโกดัง โรงงาน
